ความเป็นมาในอดีต

                ในทางประวัติศาสตร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีประวัติความเป็นมาสืบแต่เมืองกาญจนดิษฐ์ถ้ากล่าวถึงในเขต จังหวัดสุราษฎร์ธานีปัจจุบันก็มีเมืองโบราณเก่าแก่หลายเมืองเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งชุมชน
กระจายอยู่หลายจุด จึงเกิดเมืองโบราณอยู่รอบบริเวณอ่าวบ้านดอน ได้แก่เมืองต่าง ๆ ดังนี้....

10-4.jpg (5459 bytes)

1. เมืองไชยา   เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ในคาบสมุทร แหลมมลายูตอนเหนือสุด ตั้งแต่อ่าวชุมพรถึงอ่าวบ้านดอน มีศูนย์กลางอยู่แถบที่ราบลุ่มคลองไชยา เป็นเมืองที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 อารยธรรมที่สั่งสมมามีตั้งแต่ครั้งศาสนาพราหมณ์เข้ามาเจริญรุ่งเรืองในพุทธศตวรรษที่ 11 - 14
ขณะเดียวกันพุทธศาสนาแบบเถรวาทก็เข้ามาเจริญควบคู่อยู่ด้วยกัน ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 - 16 และเมืองไชยามีชื่อเสียงมาก เมื่องครั้งอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรืองในพุทธศตวรรษที่ 13 - 17 โดยพุทธศาสนาลัทธิมหายานได้เข้ามาเจริญแพร่หลาย หลังจากนี้เมืองไชยาก็ยังคงมีอยู่แต่ลดบทบาทความสำคัญ ลงไปมาก เมื่องแรงกระตุ้นจากวัฒนธรรมและการเมืองจากภายนอกเสื่อมลงไป เมืองไชยาก็มีพัฒนาการของตัวเองสืบต่อมาและมีชื่อเเรียกว่า "เมืองบันไทยสมอ"   อันเป็นเมือง 12 นักษัตร   ของเมืองนครศรีธรรมราช

2
.   เมืองเวียงสระ    เป็นเมืองโบราณอายุรุ่นราวคราวเดียวกับเมืองไชยา แต่มีอายุสั้นกว่า ตั้งอยู่ในแถบที่ราบลุ่ม แม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุมดวง มีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ ริมฝั่งขวาของแม่น้ำตาปีหรือแม่น้ำหลวง เป็นเมืองที่มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11 - 15 หรือ 16 หลังจากนี้ก็ดูจะเลิกร้างไป เนื่องจากสภาพสถานที่ตั้งเมืองไม่เหมาะสม อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ การคมนาคมติดต่อกับเมืองอื่นลำบาก โดยเฉพาะการติดต่อกับเมืองอื่นทางทะเลทำไม่ได้คล้ายกับเป็นเมืองปิด แม้จะมีเมืองท่าอยู่ปากอ่าว แต่ก็ยังอยู่ไกลไปมาลำบาก การติดต่อค้าขายให้เจริญ ขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ไม่ได้ อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บก็มิใช่น้อย จึงต้องอพยพเคลื่อนย้ายไปอยุ่ที่อื่น ภายหลังส่งผู้คนกลับมาบุกเบิกอีก ก็เป็นเพียงการขยายชุมชน สร้างสมเสบียงกรัง และเพื่อแสวงหาโภคทรัพย์บำรุงบ้านเมือง

3.    เมืองคีรีรัฐนิคม   เป็นเมืองขนาดเล็ก ชุมชน เกิดขึ้นมาแต่โบราณแล้วเดิมเป็นเมืองบริวารของเมืองเวียงสระ เรียกกันว่าเมือง "ธาราวดี" บ้าง "คงคาวดี" บ้าง ซึ่งชื่อเมืองนี้คงตั้งตามนามบ้านและรูปลักษณะของภุมิประเทศนั่นเอง เพราะบริเวณท้องที่ตั้งเมืองมีแม่น้ำไหลผ่านวกเวียนอยู่ระหว่างภูเขาและเมืองเดิมตั้งอยู่ที่บ้านน้ำรอบ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองคีรีรัฐนิคม เพราะมีภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนตั้งอยู่โดยรอบท้องที่ และสายน้ำไหลวกเวียนอยู่ระหว่างภูเขาตลอดสายราว พ.ศ.2439จึงได้ยุบลงเป็นอำเภอและเรียกอำเภอคีรีรัฐนิคม มีโบราณสถานที่เก่าแก่ไม่มากนัก เนื่องจากมิได้เป็นเมืองศูนย์กลางทำหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านควบคุมเส้น ทางเดินบกข้ามแหลมมลายู     ระหว่างฟากทะเลตะวันตกกับฟากทะตะวันออก จึงพบโบราณศิลปะวัตถุน้อยคือ พบเทวรูปพระนารายณ์ศิลปที่ถ้ำสิงขรและพบพระพิมพ์ดินดิบแบบศรีวิชัยแถบถ้ำในเขา เขตอำเภอพนม และได้พบกลองมโหระทึกวัฒนธรรมดองซอนในบริเวณใกล้เคียงบ้าง เป็นต้น

4.  เมืองพุนพิน เป็นเมืองขนาดเล็กเช่นเดียวกับเมืองคีรีรัฐนิคม แต่ก็จัตวามีขนาดใหญ่และมีความสำคัญกว่าเดิมเรียกว่า "พุนพิน" เป็นเมืองที่มีอายุรุ่นเดียวกับเมืองเวียงสระและเมืองไชยา เป็นเมืองบริวารของเมืองเวียงสระ ทำหน้าที่เป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายทางทะเล เมืองพุนพินมีความสำคัญมากเนื่องจากตั้งอยู่ตรงชุมทาง หรือศูนย์กลางคมนาคมถึง3 - 4 ทาง คือเส้นทางเดินเรืองติดต่อกับเมืองคีรีรีฐนิคมตามลำน้ำพุมดวง ติดต่อกับเมืองเวียงสระพระแสง และคลองอิปันคลองสินปีนข้ามไปคลองท่อมหรือฝั่งทะเลตะวันตก ได้ติดต่อกับเมืองต่าง ๆ แถบชายฝั่งทะเล เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช เป็นต้น เมืองพุนพินจึงเหมาะที่จะเป็นเมืองท่าเรือสำหรับรับส่งสินค้าและมีชื่อเสียงมากจนนักจดหมายเหตุจีนได้บันทึก กล่าวถึงไว้ที่เรียกว่า "ท่าข้าม" ก็อยู่ตรงจุดศูนย์กลางนี้ด้วย ตัวเมืองพุนพินไม่มีคันคูเมือง เนื่องจากภุมิประเทศส่วนมากเป็นที่ราบ เมืองจึงตั้งอยู่บริเวณดดยรอบปากน้ำสามแพรกกระจายออกไป เนื่องจากเนื้อที่การเพาะปลูกทำนามีจำกัด ฤดูหลากมักจะท่วมเสียหาย ศาสนสถานสำคัญจึงมักสร้างขึ้นตามตีนเขาเชิงเขา   หรือบนควนภูเขา เช่น บนควนท่าข้าม (สวนสราญรมย์) เขาศรีวิชัย เมืองพุนพินคงจะเป็นเมืองท่าเรือติดต่อค้าขายทางทะเลมีชื่อมานาน ตรงกับชื่อเมือง พาน - พาน หรือ พัน - พัน ในจดหมายเหตุจีน และเป็นท่าเรือใหญ่ประจำอ่าวบ้านดอน จึงได้พบโบราณศิลปวัตถุบริเวณนี้เป็นอันมาก

5. เมืองท่าทอง เป็นเมืองค่อนข้างใหญ่ มีการติดต่อและมีความสัมพันธ์กับเมืองคีรีรัฐนิคมด้วย   เดิมทีเดียวก็เป็นเมืองขนาดเล็ก ต่อมาภายหลังเจริญเติบโตรวดเร็วมาก เพราะมีพื้นที่ทำเกษตรกรรมมาก และได้ติดต่อใกล้ชิดกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเป็นเมือง 12 นักษัตรของนครศรีธรรมราชด้วย จึงมีชื่อเสียงอีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองสะอุเลา"   และเข้าใจว่าอาจจะเป็นชื่อเมืองเดิมก็ได้ เนื่องจากจุดที่ตั้งเป็นตัวเมืองท่าทองนั้นดูจะตั้งใหม่ภายหลังที่บ้านสะท้อนเมืองท่าทองเก่าหรือเมืองสะอุเลา เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ตลอดลุ่มน้ำท่าทองอุแท และบริเวณที่ราบลุ่มคลองกะแดะควบคู่กัน จุดศูนย์กลางเดิมคงจะอยุ่แถว ๆ บ้านข้อศอก ตำบลท่าอุแท เนื่องจากมีโบราณวัตถุสถานสำคัญรุ่นเก่าอยู่มาก แต่น่าเสียดายที่ชำรุดสูญหายถูกทำลายไปมากต่อมาก อายุของเมืองท่าทองคงอยุ่ที่ราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 เป็นต้นมา แต่โดยแท้จริงแล้วเมืองท่าทองเก่ามีอายุสูงกว่านี้ แต่เนื่องจากชุมชนกระจายอยุ่หลายแห่ง และอายุไม่เท่ากัน กล่าวคือ ในท้องที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน เราได้พบโบราณศิลปวัตุมากมายหลายยุคหลายสมัย นับตั้งแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมา จากการสำรวจพบว่าบริเวณตำบลช้างขวาและตำบลเขตใกล้เคียงเป็นชุมชนเก่าแก่ และที่วัดถ้ำคูหา มีศิลปกรรมสมัยทวารวดีจำนวนมากและสำคัยยิ่ง ฝีมือช่างสูง และตามถ้ำตามเขาในท้องที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ได้พบพระพิมพ์แบบทวารวดีศรีวิชัยอยู่เป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นเครื่องยืนยันว่า เมืองสะอุเลาหรือเมืองท่าทอง เป็นเมืองเก่ากว่าที่เข้าใจกันแต่เดิม และเมืองท่าทองย่อมหมายถึงลุ่มน้ำกะแดะด้วย
            ในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชปราบพม่าข้าศึกราบคาบหมดแล้ว   แต่หลวงนายสิทธิ์  ปลัดเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งตั้งตัวเป็นอิสระ นับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาและไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังนั้นใน พ.ศ. 2312 จึงโปรดให้กองทัพบกยกลงมาทางชุมพร ไชยา ยกทัพข้ามแม่น้ำ หลวงที่บ้านท่าข้ามส่วนทัพเมืองนครศรีธรรมราชออกมารับทัพ กรุงโดยตั้งค่ายมั่นที่บ้านท่าหมากอำเภอบ้านนาสารการทำศึก-สงครามกันย่อม ทำให้ผู้คนพลเมือง ในท้องถิ่นต้องกระทบกระเทือนเดือดร้อนด้วย

   

home_2.gif (8398 bytes)